เรื่องนี้ต้องแยกออกเป็น 2 ส่วนออกจากกัน
ส่วนแรกคือการถ่ายภาพ ซึ่งสามารถกระทำได้ (และทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว) ส่วนนี้ก็จะเข้า PDPA ในเรื่องการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่สองคือการนำภาพไปเผยแพร่ในสื่อต่าง ส่วนนี้ก็เป็นการนำข้อมูลไปเผยแพร่
ดังนั้นในทั้ง 2 กรณี คณะต้องพิจารณาเรื่อง PDPA แน่นอน ซึ่งก็หมายความว่า คณะจำเป็นต้องหาฐานทางกฎหมายเพื่อประมวณผลข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมให้ได้ ซึ่งผมคิดว่าน่าใช้ฐานอื่นได้ยาก และน่าจะต้องใช้ฐาน “ยินยอม (consent)”
การให้ความยินยอมสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะให้นักศึกษาเซ็นให้ความยินยอมเรื่องการทำภาพถ่ายไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ของคณะในสื่อต่าง (ในต่างประเทศผู้ที่ให้ความยินยอม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะให้องค์กรนำภาพไปใช้ ใช้แขวนป้ายคนละสี เช่น สีเขียวแปลว่ายอมให้ใช้ภาพของเขาเพื่อประชาสัมพันธ์ได้ สีแดงแปลว่าไม่ยินยอมให้นำภาพของเขาไปใช้ เป็นต้น) หากการเซ็นยินยอมในเอกสารยุ่งยากเกินไป คณะอาจจะมีการแจ้งนักศึกษาก่อนที่จะทำการบันทึกภาพ และแจ้งให้ผู้ที่ไม่ยินยอมออกจากบริเวณไปก่อน หรือจะขอให้หันหลัง หรือไม่ก็หาวัตถุใดๆปิดบังใบหน้าไว้ เป็นต้น (ผมแนะนำให้บันทึกคลิปวิดีโอในคณะที่เจ้าหน้าที่ของคณะแจ้งขอความยินยอมจากนักศึกษาไว้ด้วยครับ เพื่อเป็นหลักฐาน)
เมื่อคณะใช้ฐาน “ยินยอม” คณะต้องเตรียมการเผื่อไว้ในกรณีที่มีนักศึกษามาขอถอนความยินยอมภายหลัง คณะก็ต้องนำภาพที่มีนักศึกษาคนนั้น (หรือกลุ่มนั้น) ออกจากสื่อทันทีหลังจากนักศึกษาถอนความยินยอมแล้ว